วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต


ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ






จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
4. คิดก่อนเขียน
5. อย่าใช้อารมณ์
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง





ที่มา : http://linblog21.blogspot.com/

การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตในงานด้านต่างๆ

การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตในงานด้านต่างๆ

เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกให้สามารถติดต่อถึงกันได้หมดจนกลายเป็นเครือข่ายของโลก ดังนั้นจึงมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้จำนวนมาก การใช้งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไป เพราะการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและให้กันมากเท่านั้น ยังมีการประยุกต์งานอื่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา
1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronoc mail หรือ e-mail ) เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลกับบุคคลก็ได้ หากเปรียบเทียบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับไปรษณีย์ธรรมดาจะพบว่าโดยหลักการนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนบุรุษไปรษณีย์ให้เป็นโปรแกรม เปลี่ยนรูปแบบการจ่าหน้าซองจดหมายให้เป็นการจ่าหน้าแบบอ้างอิงระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email address) การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีรูปแบบที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
หากต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเอกสาร แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับ ระบบจะจำส่งทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของอยู่ที่จะเป็นขื่อรหัสให้และขื่อเครื่องประกอบกัน เช่น sombat@ipst.ac.th การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้ ระบบจะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ และนำส่งไปยังปลายางได้อย่างถูกต้อง การับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
ปัจจุบันข้อมูลที่ส่งผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นเป็นข้อมูลแบบใดก็ได้ทีอยู่ในรูปแบบของดิจิทัล (digital) และสามารถใช้ภาษาอะไรก็ได้


2) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน (File Transfer Protocol : FTP) เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการการเก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้บริการ ผู้ใช้สมารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น โปรแกรม cuteFTP โปรแกรม wsFTP เป็นต้น


3) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล (telnet) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย เช่น นักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรมไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง

4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร (search engine) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปส่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สมารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (Wold Wide Wed : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
5) การอ่านจากกลุ่มข่าว (USENET) ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่มๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าวอนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความไปได้ และหากผู้ใดต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายและกระจายข่าวได้รวดเร็ว
6) การสนทนาบนเครือข่าย (chat) เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลกผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือ เพื่อโต้ตอบกันแบบทีนทีทันใดบนจอภาพ ตอมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอ ก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้


7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย เป็นการ ประยุกต์เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานีที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือนการฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดีทัศน์บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ที่ความเร็วของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถรองรับการส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้คุณภาพของภาพวีดีทัศน์ยังไม่ดีเท่าที่ควร

8) การบริการบนอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นมากมายโดยผู้ใช้สามารถใช้บริการโดยอยู่ที่ไหนก็ได้ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง การบริการบนอินเทอร์เน็ตมีทั้งเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ ซื้อข่ายสินค้า ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และบริการอื่นๆ ซึ่งการให้บริการเหล่านี้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบได้


ที่มา : http://school.obec.go.th/mrPaisan/e-learning/information/content/internet5.htm

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตข้อดี /ข้อเสีย

  ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตข้อดี /ข้อเสีย
 1. ข้อดีของ internet คือ
 - ด้านการติดต่อสื่อสาร เกิดการแลกเปลี่ยน การส่งไปรษณีย์อิเล็กทอนิกส์หรือการพูดคุยด้วยการส่งสัญญาณภาพและเสียง
 - มีระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
 - สามารถค้นหาความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้ผ่านบริการ www
 - ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
 - ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
 - ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการมาเรียนเป็นอย่างดี
 - ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจกลัวการตอบคำถาม มีอิสระ
 
2. ข้อเสียของ internet เช่น
- อินเตอร์เน็ตเป็นระบบอิสระทำให้การควบคุมทำได้ยาก
- มีข้อมูลที่มีผลเสียต่อการศึกษาเผยแผ่อยู่เป็นจำนวนมาก
- ไม่มีระบบจัดการที่ดี ทำให้การค้นหาทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- ข้อมูลบางอย่างไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกหรือโดนกลั่นแกล้งจากผู้ไม่หวังดี
- ข้อมูลบางอย่างไม่เหมาะสมกับเด็ก
- ผู้เรียนบางคนไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

 ที่มา : http://octsokmok.blogspot.com

ประวัติและความเป็นมาในการใช้อินเตอร์เน็ต

ประวัติและความเป็นมาในการใช้อินเตอร์เน็ตและการใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ช่วงต้นปีคริสต์ศตวรรษ 1960 (ประมาณปี 2503) ซึ่ง เป็นยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับโซเวียต มีความเสี่ยงทางการทหารและความเป็นไปได้ที่จะถูกโจมตีด้วยอาวุธปรมาณูหรือ นิวเคลียร์ การทำลายล้างศูนย์คอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารจ้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบและในช่วงนี้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสาร ข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ จึงมีแนวคิดในการวิจัยระบบที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์และแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้
                อินเทอร์เน็ตจึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า U.S. Defense Department คิดขึ้นเพื่อให้มีระบบเครือข่ายสื่อสารที่ไม่มีวันตาย แม้จะถูกโจมตีจากสงคราม เรียกเครือข่ายนี้ว่า ARPAnet (Advances Research Project Agency Network) จุดเริ่มของ ARPAnet ได้ทำการทดลองเชื่อมคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่ง โดยเริ่มจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย (UCLA) กับสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (SRI) ทั้งสองแห่งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยซานตาบาร์บารา (UCSB) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยแห่งรัฐยูทาห์ (UTAH) ความสำเร็จของเครือข่ายทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา นำมาพัฒนาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail)รับส่งข่าวสาร แฟ้มเอกสารต่าง ๆ ในงานวิจัยทางวิชาการ ปี พ.ศ.2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ บริษัท ห้างร้าน องค์กรเอกชนต่าง ๆ เริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจ มีการซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (E-Commerce) จนเกิดกระแสนความนิยมในธุรกิจดอทคอมมากขึ้น
                จนกระทั่งปี พ.ศ.2528 (ค.ศ.1985) ระบบอินเทอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์พร้อมรองรับการใช้งานด้านการสื่อสารแพร่ขยายในวงกว้าง โดยเฉพาะการใช้งาน E-Mail, Chat, Telnet, FTP, Gopher, Finger ฯลฯ

ในประเทศไทยเริ่มใช้งานครั้งแรกใน ปี พ.ศ.2532 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ผ่านระบบโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ) กับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียเพื่อการรับส่งอีเมล และปี พ.ศ.2535 ได้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างถาวร โดยมีจุดเชื่อมต่อ Gateway 2 แห่ง คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อินเทอร์เน็ต เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2535 และในปี 2538 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ร่วมมือกับเอกชนรายแรกโดยใช้ชื่อว่า อินเทอร์เน็ตเคเอสซี (KSC) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ เรียกโดยย่อว่า ISP
(Internet Service Provider)












ความหมายของอินเทอร์เน็ต ( Internet )
เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ อินเทอร์เน็ตไม่มีผู้จึงทำให้ระบบใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ